ทางเลือกด้านการเลี้ยงดูทดแทนสำหรับเด็กในประเทศไทย

1. ครอบครัวเครือญาติ ครอบครัวเครือญาติ คือ การที่สมาชิกในครอบครัวขยาย รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเด็กคล้ายญาติผู้ใหญ่ เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเด็ก ครอบครัวเครือญาติสามารถเป็นได้ทั้งการเลี้ยงดูแบบเป็นทางการ (มีการจดทะเบียนรองรับตามกฎหมาย) หรือแบบไม่เป็นทางการ โดยครอบครัวเครือญาติที่อุปการะเด็กเป็นทางการในประเทศไทย จะได้รับเงินช่วยเหลือทุกเดือนจากภาครัฐ ครอบครัวเครือญาติที่ให้การอุปการะเด็กแบบไม่เป็นทางการนั้นมีจำนวนเท่าใดยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่ามีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่ากว่าร้อยละ 24 ของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีมิได้พักอาศัยกับพ่อหรือแม่ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเดินทางอพยพภายในประเทศ


2. ครอบครัวอุปถัมภ์ อบครัวอุปถัมภ์ หมายถึง การดำเนินการอย่างเป็นทางการเพื่อให้เด็กได้รับการดูแลจากครอบครัวที่ไม่ใช่ญาติหรือบุคคลอื่นที่เด็กไม่รู้จัก หรือไม่เคยมีความสัมพันธ์ด้วย ทั้งนี้ ครอบครัวอุปถัมภ์นี้อาจเลี้ยงดูเด็กในระยะเวลาสั้นๆ หรือในระยะยาว ทั้งนี้ มักมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับครอบครัวอุปถัมภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการแปลคำดังกล่าวเป็นภาษาไทย เช่นมีการเรียกสถานสงเคราะห์เด็กบางแห่งว่าเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา มีองค์กรพัฒนาเอกชนบางแห่งในประเทศไทย ที่ส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็ก โดยครอบครัวอุปถัมภ์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีกรอบการทำงาน หรือระบบที่ใช้ในระดับประเทศเพื่อกำกับดูแลกระบวนการครอบครัวอุปถัมภ์ ปัจจุบัน กรมกิจการเด็กและเยาวชนได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Care for Children ในการพัฒนา และวางระบบครอบครัวอุปถัมภ์ให้กับเด็กที่อาศัยอยู่ในสถานรองรับของภาครัฐ และมีพันธกิจในการเพิ่มจำนวนเด็กเหล่านี้ให้เข้าสู่การเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบครอบครัวมากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานระดับประเทศสำหรับครอบครัวอุปถัมภ์ โดยมีจุดมุ่งหมายให้การเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบครอบครัวนี้ เป็นทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับเด็ก ที่อาจถูกส่งเข้าสถานสงเคราะห์

การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เมื่อมีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอย่างเป็นทางการ ถือได้ว่าเด็กมีผู้ปกครองตามกฎหมายแล้ว จึงไม่นับว่าเป็นการเลี้ยงดูทดแทนอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่เด็กรอผู้รับไปเป็นบุตรบุญธรรมนั้น แน่นอนว่าเด็กจะต้องได้รับการเลี้ยงดูทดแทนมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ประเทศไทยมีศูนย์รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอย่างเป็นทางการ 5 ศูนย์ โดยสามารถรับเด็กไปเป็นบุตรบุญธรรมได้ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Alternative Care Thailand

1 thought on “ทางเลือกด้านการเลี้ยงดูทดแทนสำหรับเด็กในประเทศไทย”

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top